เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ดี

สำหรับผู้ใช้รถทุกคน การดูแลรถเป็นสิ่งที่ต้องทำประจำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็คตามระยะ การเช็ครถประจำวันด้วยตัวเอง หรือการดูแลอุปกรณ์และของเหลวต่างๆ ในรถ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องเปรียบเสมือนหัวใจของรถยนต์ เพราะทำหน้าที่ในการช่วยบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ชำระล้างสิ่งสกปรกและยังช่วยป้องกันเครื่องยนต์ส่วนต่างๆ สึกหรอได้อีกด้วย

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาการใช้งานที่กำหนดจะส่งผลให้เครื่องยนต์ของรถมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งหลายคนส่วยใหญ่มักจะละเลยไป และอาจไม่แน่ใจว่าต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไร วันนี้เรามีความรู้ดีๆในการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง มาฝากกันครับ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ ?

สำหรับกำหนดเวลาในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้น เบื้องต้นควรพิจารณาจากข้อมูลในหนังสือคู่มือรถแต่ละคันเป็นหลัก และในขณะเดียวกันการที่จะต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่ ส่วนสำคัญก็อยู่ที่ประเภทของน้ำมันเครื่องที่เลือกใช้ด้วย เนื่องจากน้ำมันเครื่องนั้นมีทั้งแบบ น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic), น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ที่จะมีอายุการใช้งานและระยะเวลาที่แตกต่างกัน

โดยทั่วไปนั้นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือที่เรียกว่า น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% จะใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 10,000 กิโลเมตร ส่วนน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ จะใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 5,000-7,000 กิโลเมตร และน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา ก็จะมีคุณสมบัติหรืออายุการใช้งานที่น้อยลงอีก ขณะเดียวกัน โดยมากแล้วน้ำมันเครื่องทุกประเภทก็จะมีการระบุไว้ว่า ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 6 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนกัน

ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

สิ่งที่จำเป็น

  1. น้ำมันเครื่องประมาณ 4 ลิตร (ตรวจสอบคู่มือเพื่อหา SAE ของความหนืด, ประสิทธิภาพตาม API และปริมาณที่เครื่องยนต์ต้องใช้ไส้กรองใหม่ รถยนต์ส่วนใหญ่ใช้แบบหมุน ซึ่งมีหลายรูปร่างและหลายขนาด (ตรวจสอบคู่มือเพื่อหาชนิดและขนาดที่เหมาะสม)
  2. คีมปากนกแก้วที่มีขนาดเดียวกับของไส้กรอง
  3. อ่างรองน้ำมันเครื่อง อย่างน้อยควรจุได้ 6-8 ลิตร
  4. กรวยเติมน้ำมัน
  5. ผ้าเช็ดมือ
  6. ที่ล้างมือหรือถุงมือยาง

ขั้นตอนที่ 1 เลือกน้ำมัน
โดยทั่วไป เราควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ 5,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 3 เดือนแล้วแต่ว่าเงื่อนไขไหนถึงก่อนสิ่งนี้จะช่วยทำให้มีการปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีและทำให้เครื่องยนต์มีอายุใช้งานนาน (ตรวจสอบคู่มือประจำรสำหรับกรณีพิเศษและอย่าปล่อยให้การรับประกันสิ้นสุดลง)

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมรถ
หมั่นสอบถามช่างสำหรับการป้องกันก่อนที่เครื่องยนต์จะมีปัญหา อย่าใช้แม่แรงยกรถ เพราะมันไม่ค่อยมั่นคงให้ใช้ที่ยกรถจะปลอดภัยกว่า แม่แรงจะยกรถให้ลอยขึ้นจนเราสามารถที่จะเลื่อนตัวเข้าไปใต้ท้องรถได้ เมื่อนอนราบแล้ว ให้ขับรถขึ้นไปบนที่ยกรถกระทั่งล้อหน้าลอยขึ้น ตั้งเบรคฉุกเฉินและให้กั้นล้อรถด้านหลังด้วยไม้กั้นเพื่อป้องกันรถไหลใส่เกียร์หนึ่งไว้หากเป็นรถเกียร์ธรรมดาและตัว P ถ้าเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ น้ำมันที่เย็นจะไหลออกมายาก ดังนั้นควรอุ่นเครื่องรถไว้ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้อยู่ในอุณหภูมิอย่างตอนที่ใช้ (อย่าติดเครื่องโดยไม่มีน้ำมันเครื่อง) จากนั้นให้ปิดเครื่องและเปิดกระโปรงรถ เพื่อที่จะเปิดฝาน้ำมันโดยไม่ต้องสูบน้ำมันขึ้นมา จะทำให้น้ำมันไหลลงมาด้านล่างได้อย่างง่ายดาย

ขั้นตอนที่ 3 ถ่ายน้ำมันเก่า
ใส่ปลั๊กน้ำมันด้านล่างของรถ โดยควรจะอยู่ที่ด้านล่างของเครื่องยนต์ ควรแน่ใจว่าหมุนปลั๊กให้แน่น วางถาดรองน้ำมันใต้ท่อทิ้งน้ำมันใช้คีมหมุนให้เปิดออกตามเข็มนาฬิกาถึงตอนนี้ให้ระวัง เพราะน้ำมันอาจจะไหลลงมาอย่างรวดเร็วและค่อนข้างร้อน ระวังอย่าให้ฝาท่อหล่นลงไปในน้ำมัน

ขั้นตอนที่ 4 ถอดไส้กรอง
ต่อมา ให้เปิดที่กรองน้ำมัน ซึ่งอาจจะร้อนนิดหน่อยด้วยการหมุนตามเข็มนาฬิกาด้วยคีมหยิบออกโดยระวังอย่าไปจับท่อที่ร้อนที่กรองน้ำมัน อาจจะมีน้ำมันและมีน้ำหนักมากซักหน่อย ดังนั้นให้วางลงค่อยๆ และไกลจากเครื่องยนต์และเทน้ำมันที่ติดอยู่ลงในอ่างรองน้ำมัน

ขั้นตอนที่ 5 เปลี่ยนไส้กรอง
ใช้ผ้าเช็ดรอบๆ ขอบปากที่กรองที่อยู่ที่เครื่องยนต์แล้วจึงใส่ที่กรองอันใหม่แล้วใช้นิ้วลูบน้ำมัน (เก่าหรือใหม่ก็ได้) ไปที่รอบๆ ขอบของที่กรองอันใหม่ โดยที่น้ำมันจะทำหน้าที่เป็นฟิล์มกันการรั่วซึม ขันที่กรองอย่างระมัดระวังโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา อย่าให้แน่นจนเกินไป ทำความสะอาดท่อน้ำมันและที่ปิดแล้วใส่กลับไปที่เดิม หมุนปลั๊กให้แน่นโดยใช้คีมช่วยแต่อย่าแน่นจนเกินไป

ขั้นตอนที่ 6 เติมน้ำมันใหม่
ข้างบนสุดของเครื่องยนต์ จะเห็นฝาที่เขียนว่า "น้ำมันเครื่อง" ให้เปิดฝานั้นออกและเริ่มเติมน้ำมันในปริมาณที่ต้องการ ตรวจสอบด้วยไม้วัดเพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณถูกต้อง หลังจากนั้นปิดฝาและเช็คทำความสะอาดอีกครั้งไฟแสดงน้ำมันควรจะหายไปเมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานสักพักแล้วปิดเครื่องและเช็คไม้วัดน้ำมันอีกทีเพื่อตรวจสอบว่า น้ำมันมีปริมาณที่เหมาะสม ท้ายสุดตรวจสอบที่รูน้ำมันออกบริเวณด้านล่างของรถว่าไม่มีการรั่วซึม ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมครับ

อย่าลืมจดด้วยว่าทำการเปลี่ยนเมื่อเข็มไมล์อยู่ที่ระยะทางเท่าใดและเปลี่ยนเมื่อไหร่ในที่เก็บของหน้ารถจะได้ง่ายในการตรวจสอบว่าครั้งหน้าควรเปลี่ยนอีกเมื่อไหร่และยังช่วยให้รถคุณมีราคาที่ดีขึ้นเมื่อคุณประกาศขายหากมีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำ

ขั้นตอนที่ 7 การทิ้งน้ำมันเครื่องอย่างถูกวิธี
สิ่งสุดท้ายที่ถือว่าสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง คือ การทิ้งน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วในที่ที่เหมาะสม เพราะน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วเป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม การทิ้งน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วในภาชนะมิดชิดและสอบถามพนักงานเก็บขยะแถวบ้านคุณถึงการทิ้งที่เหมาะสม

รถขับน้อย หรือรถจอดนานๆ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วยหรือไม่ ?

รถจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเหมือนกันครับ เพราะน้ำมันเครื่องจะทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้เสื่อมลงเรื่อยๆ อีกอย่างขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละภูมิประเทศด้วย เช่น ถ้าอากาศหนาวทำให้รถสตาร์ทติดยาก ในช่วงที่เราค่อยๆ สตาร์ทรถการเผาไหม้จะยังไม่สมบูรณ์ดีพอ ทำให้คราบน้ำมันที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมด อาจตกลงปนกับน้ำมันเครื่องซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

อย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำมันเครื่องเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับรถยนต์ ดังนั้นต้องอย่าลืมตรวจเช็คน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำมันเครื่อง ระดับของน้ำมันเครื่อง รวมไปถึงตรวจสอบว่าน้ำมันเครื่องรั่วไหลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องรอจนครบระยะทางหรือระยะเวลาที่กำหนด หากเราตรวจเช็ครถเบื้องต้นแล้วพบว่าน้ำมันเครื่องมีปริมาณที่ลดลง หรือน้ำมันเครื่องมีสีที่ดำมากกว่าปกติ เราสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องในทันทีครับ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดและลดความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะสึกหรอหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรด้วย

รู้เรื่องรถ

Visitors: 81,311